การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย และภาษีบำรุงท้องที่

การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย และภาษีบำรุงท้องที่ ประจำปีงบประมาณ 2559

       - ภาษีโรงเรือนและที่ดิน 

       - ภาษีป้าย 

       - ภาษีบำรุงท้องที่

        องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ขอเชิญชวนผู้มีหน้าที่ต้องชำระภาษี ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ติดต่อยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อชำระภาษี

        ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ยื่นแบบแสดงรายการ ตั้งแต่ 4 มกราคม - 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 

        ภาษีป้าย ยื่นแบบแสดงรายการ ตั้งแต่ 4 มกราคม - 31 มีนาคม พ.ศ.2559 

        ภาษีบำรุงท้องที่ ยื่นแบบแสดงรายการ ตั้งแต่ 4 มกราคม - 30 เมษายน พ.ศ.2559

 

        เพื่อเป็นการพัฒนาพื้นที่ ในเขตเทศบาลตำบลบางกะดี จึงขอให้ผู้มีทรัพย์สิน อันเข้าข่ายเสียภาษีตามกฎหมาย ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีประจำปี 2559 ตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าว หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายหากมีข้อสงสัยประการใด กรุณาติดต่อสอบถามได้ที่ กองคลัง โทร. 035-398327

 

                                                   เงินภาษีมีค่า เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

 

          ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนและที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกันกับโรงรือนนั้น ๆ และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างนั้น 

           โรงเรือน หมายถึง บ้าน ตึกแถว ร้านค้า สำนักงาน ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน อพาร์ทเม้นท์ คลังสินค้า ฯลฯ 

           สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ หมายถึง ท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ คานเรือ ซึ่งมีลักษณะการก่อสร้างติดต่อกับที่ดินเป็นการถาวร 

           ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ หมายถึง ที่ดิน ซึ่งปลูกโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ และบริเวณต่อเนื่องกัน ซึ่งตามปกติใช้ไปด้วยกันกับโรงเรือน 

          - ผู้มีหน้าที่เสียภาษี หมายถึง ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน

 

อัตราภาษี

ร้อยละ 12.5 ของค่าภาษี 

ขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน

1. เจ้าของทรัพย์สิน(ผู้รับประเมิน) จะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี(ภ.ร.ด.2) ณ กองคลัง งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ เทศบาลตำบลบางกะดี ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี (ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการมีความผิดโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
2. เมื่อผู้รับประเมินได้รับใบแจ้งประเมินภาษี (ภ.ร.ด.8) จะต้องชำระค่าภาษีภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับการแจ้งประเมินค่าภาษี
การไม่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในกำหนดระยะเวลา

 

กรณี ผู้รับประเมินไม่ชำระค่าภาษีภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งประเมินค่าภาษีจะต้องเสียเงินเพิ่มดังนี้ 

1. ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 เดือน นับจากวันพ้นกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษี
2. ค้างชำระภาษี 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษี
3. ค้างชำระภาษี 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษี
4. ค้างชำระภาษี 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษี
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ พ.ศ.2543 มาตรา 44

 

กำหนดว่า ถ้ามิได้มีการชำระภาษีและเงินเพิ่มภายในสี่เดือน ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่ง ยึด อายัด หรือขายทอดตลาด ทรัพย์สินของผู้ค้างชำระค่าภาษีเพื่อนำเงินมาชำระเป็นค่าภาษีและเงินเพิ่ม

 

การยื่นอุทธรณ์ 

      เมื่อผู้รับการประเมินได้รับใบแจ้งประเมินค่าภาษีแล้ว หากไม่พอใจในการประเมินค่าภาษี ให้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินค่าภาษีใหม่ ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินภาษี(ภ.ร.ด.8)

 

หมายเหตุ การแจ้งห้องว่าง สามารถแจ้งได้ที่ กองคลัง ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน (โทร. 035-398327)

  

ภาษีป้ายจัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายหรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่ใช้ในอักษร ภาพ หรือ เครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

 

การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษีป้าย 

1. เจ้าของหรือผู้ครองครองป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายตั้งแต่ 2 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี โดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรก ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ภายใน 15 วัน และให้เสียภาษีป้ายเป็นรายงวด ๆ ละ 3 เดือน ของปี 

2. ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ได้รับการแจ้งประเมิน จากพนักงานเจ้าหน้าที่ 

3.กรณีภาษีป้ายตั้งแต่ 3,000.-บาท ขึ้นไป สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวด งวดละเท่า ๆ กัน

  

อัตราภาษีป้าย 

1.ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตาราง ซ.ม. 

2.ป้ายอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพและเครื่องหมายอื่น คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตาราง ซ.ม.

3.ป้ายดังต่อไปนี้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตาราง ซ.ม. 

   - ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่

   - ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ 

   - ป้ายที่คำนวณพื้นที่และประเภทของป้ายแล้วเสียภาษีต่ำกว่า 200 บาท ให้เสียในอัตรา 200 บาท

 

การอุทธรณ์ 

      ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ได้รับแจ้งการประเมินแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องมีสิทธิ์ยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามแบบ ภ.ป.4 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแจ้งการประเมิน

 

อัตราโทษและค่าปรับ 

1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเดือนมีนาคมหรือหลังติดตั้งป้าย 15 วัน เสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษี
2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้อง ทำให้ค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
3. ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน เสียเงินเพิ่ม 2 % ต่อเดือน ของค่าภาษี เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน

 

 เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน

 

อัตราภาษี 

- จะเสียตามราคาปานกลางของที่ดิน มีหลายอัตรา ขอทราบรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่โดยตรง 

- ที่ดินว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์จะต้องเสียภาษี เป็น 2 เท่าของอัตราปกติ

 

การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินและชำระภาษี 

1. ให้เจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเก็บภาษี (ภ.บ.ท.5) และชำระภาษีปีละครั้ง ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม ถึง 30 เมษายน พ.ศ.2559
2. ผู้ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ใหม่ หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลงให้ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์

  

การลดหย่อน และการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่ 

1. ที่ดินแปลงที่เจ้าของปลูกบ้านอยู่อาศัยโดยไม่ทำการค้าหรือให้เช่าแต่อย่างใดทั้งสิ้น ลดหย่อนได้ 1 ไร่ ส่วนที่เกินต้องเสียภาษีตามอัตราที่กำหนด
2. ที่ดินที่เจ้าของปลูกบ้านให้เช่าหรือปลูกบ้านทำการค้าและได้เสียภาษีโรงเรือนแล้ว จะได้รับการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่ในส่วนที่อาคารนั้นตั้งอยู่

 

อัตราโทษและค่าปรับ 

1. ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเสียเงินเพิ่ม 10 % ของภาษี
2. ยื่นรายการไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม
3. ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม
4. ชำระภาษีเกินกำหนดวันที่ 30 เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่ม 24 % ต่อปีของค่าภาษี เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน

Visitors: 76,947